homeprovincearchitecturepaintsculpturecontact
 

วัดโพธิ์ชัยบ้านหนองห้าง

ประวัติความเป็นมา

วัดโพธิ์ชัยตั้งเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๖๔  ชาวบ้านเรียกว่า  วัดโพธิ์ชัยบ้านหนองห้าง  เพราะบริเวณที่สร้างวัดมีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง  แต่เดิมเรียก “โพธิ์ไทร”  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ เขตวิสุงคามสี กว้าง ๔๐ เมตร  ยาว ๘๐ เมตร  การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม  คือ
รูปที่ ๑ พระภิกษุด้วง
รูปที่ ๒ พระเกตุ
รูปที่ ๓ พระสา
รูปที่ ๔ พระจำ
รูปที่ ๕ พระอุปรี
รูปที่ ๖ พระสี
รูปที่ ๗ พระคำตา
รูปที่ ๘ พระนนท์
รูปที่ ๙ พระโส
รูปที่ ๑๐ พระโคตร
รูปที่ ๑๑ พระสารี
รูปที่ ๑๒ พระสิงห์
รูปที่ ๑๓ พระนันท์
รูปที่ ๑๔ พระลุน
รูปที่ ๑๕ พระป้อง
รูปที่ ๑๖ พระทองใบ  อิสสะโร
รูปที่ ๑๗ พระเขียว  สุนันโท
รูปที่ ๑๘ พระเนียม  เรวะโต
รูปที่ ๑๙ พระสุบิน  ธัมมะทินโน
รูปที่ ๒๐ พระสีพร  ฐิตะเสโน
รูปที่ ๒๑ พระทั้ง  ธัมมะกาโม
รูปที่ ๒๒ พระสี  วัลละโภ
รูปที่ ๒๓ พระอมร  ผะสิโก 
รูปที่ ๒๔ พระใบฎีกาจันทร์  โกวิโท
รูปที่ ๒๕ พระเพ็ง  ฐานัสสะโร
รูปที่ เปิด๒๖ พระอธิการส้อม  อัตถะกาโม 
การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม  เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ โรงเรียนพระปริยัตธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗            

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่เลขที่ ๒ บ้านหนองห้าง  หมู่ที่ ๒  ตำบลหนองห้าง  อำเภอกุฉินาราย์  จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๓ งาน ๔๐  ตารางวา  น.ส.๓ เลขที่ ๔๗๔ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๓ เส้น ๑๐ วา จดถนนสาธารณะประโยชน์  ทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น จดถนนสาธารณะประโยชน์  ทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น ๑๔ วา จดถนนสาธารณะประโยชน์  ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น  ๑๔ วา จดถนนสาธารณะประโยชน์ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ  กว้าง ๗ เมตร  ยาว ๑๔ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ศาลาการเปรียญ  กว้าง ๑๘ เมตร  ยาว ๒๔ เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๗ กุฎิสงฆ์  จำนวน ๑ หลัง  เป็ฯอาคารไม้  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘  ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปประจำอุโบสถหลังเก่าเป็นพระพุธรูปปูนปั้น  ปางสดุ้งมาร  หน้าตักกว้าง ๒.๕๐ เมตร  สูง ๓ เมตร  เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง  ใบเสมาโบราณอายุประมาณ ๑,๓๐๐ ปี  แกะสลักพระพุทธรูปปางสมาธิ  กว้าง ๐.๘๐ เมตร  สูง ๑.๒๐ เมตร

อาคารเสนาสนะ

เป็นชุมชน ไท-ผู้ไท  สันนิษฐานว่าครั้แรกมีการสร้างสิมทึบแบบพื้นบ้านบริสุทธิ์ทั่วๆไป  เมื่อทรุดโทรมลงจึงได้เปลี่ยนเป็นช่างญวน  มีหลักฐานจากคำบอกเล่าว่า  สิมเก่าใช้อิฐปั้นจากดินริมห้วยหลักทอดมาก่อเป็นฐาน  ช่างปั้นลายตกแต่งสิมหลังเก่าคือ  ตาพ่อนางน้อย(จารย์คู  ขันตี)

 
 

รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง

เป็นสิมทึบแปลน ๔ เหลี่ยมผืนผ้า  ยาว ๓ ช่วงเสา  ลักษณะพิเศษคือ ผนังไม่มีหน้าต่าง  เพียงแต่เจาะช่องให้แสงสว่างเข้า ๔ ช่องเล็กๆ ของ ๒ ช่วงเสาแรก  ช่วงเสาสุดท้ายปิดทึบเพราะเป็นผนังด้านพระประธาน  หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว เดิมคงมุงแป้นเกล็ด  ปัจจุบันเป็นสังกะสี  มีโห่งไม้และลำยอง  เป็นนาคสะดุ้ง  ตัวล่างเอาหางเกี่ยวต้นคอนาคตัวบนด้านละ ๔ตัว  ตัวสุดท้ายเลื้อยไม้ชูหัวเพียงกระดกขึ้นเล็กน้อย  นัยว่าจะให้คล้ายหางหงส์  แต่เค้าหน้านาคค่อนข้างยื่นยาวแสยะเขี้ยวยิ้มดูคล้ายหน้าสุนัขมากกว่าพญานาค  หัวแปแกะเป็นลายดอกไม้ปิดไว้ทุกอัน  สีหน้า  ก่ออิฐฉาบปูนติดกระจกเป็นดวงกลมขนาดเล็ก  ด้านหน้าทำซุ้มประตูโค้งครึ่งวงกลมฝีมือหยาบมาก ๓ ซุ้มเป็นประตูจริงอยู่กลาง  ซุ้มหลอกขนาบทั้ง ๒ ข้าง เหนือซุ้มประตู ๒ ข้างมีกรอบกระจก ๔เหลี่ยม ขีดเป็นลายเส้นเครือเถาหยาบๆ ฐานแอวขันปากพานค่อนข้างสูง ๑.๗๐ เมตร รับกับทางขึ้นด้านหน้า  ซึ่งทำเป็นกำแพงลูกกรงโปร่งเตี้ยยื่นออกมาราว ๔ เมตร  แล้วเป็นทางเดินลาดลงไปยังบันไดซ้ายและขวา  มีเสา ๔ เหลี่ยมก่ออิฐสูงอยู่ ณ หัวบันไดทุกตอนแบบยุโรป  สัดส่วนสิมหลังนี้นับว่าพอใช้ได้แต่ขาดการระบายอากาศที่ดี  ส่วนตกแต่งไม้แกะสลัก  โดเฉพาะลำยองนาคสะดุ้งนั้น  แม้จะดูด้อยฝีมือแต่ก็ให้คุณค่าของงานออกแบบพื้นถิ่นได้เต็มที่  มีเอกลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านอย่างแท้จริง

 
 

 

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

 
องค์ประกอบต่างๆ เป็นฝีมือช่างแกะสลักในปัจจุบัน
 
 

องค์พระประธานภายในสิม

 

การตกแต่งภายในได้รับการบูรณะใหม่หมด คงเหลือรูปแบบฐานชุกชีแบบเดิม แต่องค์พระประธานยังเป็นองค์เดิม